ประวัติสำนักงานคลัง

ประวัติความเป็นมากองคลัง เมื่อ สถาบันฯ ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นสถาบันอิสระเมื่อปี 2529 นั้น สถาบันฯได้เสนอขอจัดแบ่งส่วนราชการในสำนักงานอธิการบดี ออกเป็น 7 กอง 1 หน่วยงาน ประกอบด้วยกองกลาง กองการเจ้าหน้าที่ กองคลัง กองแผนงาน กองอาคารสถานที่ กองบริการการศึกษา กองกิจการนักศึกษา และหน่วยงานตรวจสอบภายใน แต่ทบวงฯ โดย ก.ม.ได้มีมติอนุมัติให้จัดแบ่งออกเป็น 4 กอง คือ กองกลาง กองแผนงาน กองบริการการศึกษา และกองกิจการนักศึกษา โดยให้งานที่ขอจัดตั้งเป็นกองการเจ้าหน้าที่ กองคลัง และกองอาคารสถานที่ มีฐานะเป็นหน่วยงานระดับ “งาน” ในกองกลาง อันได้แก่ งานการเจ้าหน้าที่ งานคลัง งานพัสดุ และงานอาคารสถานที่ และยานพาหนะ แต่เพื่อให้การบริหารและการดำเนินงานของสำนักงานอธิการบดีเป็นไปด้วยความ เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ สถาบันฯ จึงได้กำหนดให้จัดตั้งโคร กองคลัง สำนักงานอธิการบดี มีหน้าที่และรับผิดชอบในการเป็นหน่วยงานกลาง ในการปฏิบัติภารกิจด้านงานคลัง งานพัสดุงานบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเจ้าหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานภายนอก เช่น สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินโดยตรงในการขออนุมัติเงินประจำงวด การวางฎีกาเบิกจ่ายเงิน การรายงานใช้จ่ายเงินงบประมาณและการบัญชีเงินนอกงบประมาณ การตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินให้ถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนฯ กองคลังจึงได้แบ่งงานออกเป็น 6 งาน คือ

history-pic
  • กำหนดผังบัญชี และ รหัสบัญชีให้สอดคล้องกับรายงานการเงินในระบบบัญชี 3 มิติ
  • บันทึกรายการรับ – จ่ายเงินในงบประมาณและรายได้สถาบันฯ ในระบบบัญชี 3 มิติ
  • บันทึกค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน ลงในระบบบัญชี 3 มิติ และระบบ GFMIS
  • ตรวจสอบยอดรายงานสถานะ การใช้จ่ายเงินงบประมาณจากระบบ GFMIS
  • จัดทำทะเบียนคุมลูกหนี้ร้านค้าภายในสถาบันฯ ทั้งหมด
  • บันทึกรายการปรับปรุงบัญชีต่าง ๆ ในระบบบัญชี 3 มิติ และระบบ GFMIS
  • จัด ทำรายงานการเงิน เงินงบประมาณจากระบบ GFMIS และรายงานการเงินภาพรวมเงินรายได้สถาบันฯ และเงินงบประมาณจากระบบบัญชี 3 มิติ โดยแยกตาม
  • ประเภทกองทุน หน่วยงาน และแผนงานฯ
  • จัดทำหมายเหตุประกอบงบการเงินจากระบบบัญชี 3 มิติ และระบบ GFMIS
  • จ่ายเงินเดือนข้าราชการ / ลูกจ้างประจำ / พนักงาน / ลูกจ้างชั่วคราว ของสถาบันฯ ตลอดจนจ่ายเงินบำเหน็จและเงินบำนาญ
  • จ่ายค่ารักษา – ค่าเล่าเรียนบุตร
  • รับเงินรายได้และเงินงบประมาณทุกประเภท
  • จ่ายเงินรายได้ทุกหมวดรายจ่าย
  • จ่ายเงินงบประมาณทุกหมวดรายจ่าย
  • หักและนำส่งภาษี ณ ที่จ่ายเงินเดือนข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว พนักงานและเงินประจำตำแหน่ง ส่งให้กรมสรรพากร
  • นำเงินฝากประเภทต่าง ๆ เข้าธนาคาร
  • หักเงินประกันสังคมและนำส่งสำนักงานประกันสังคม
  • นำส่งเงินรายได้แผ่นดิน, เบิกเกินส่งคืน
  • บันทึกการนำส่งเงินรายได้แผ่นดิน, เบิกเกินส่งคืนในระบบ GFMIS
  • บันทึกการจ่ายเงินงบประมาณในระบบ GFMIS
  • แจ้งเงินประจำงวดทุกหมวดรายจ่ายให้หน่วยงานภายในสถาบันฯ ทราบ
  • ตรวจสอบเอกสารตั้งเบิกเงินงบประมาณทุกหมวดรายจ่ายของสถาบัน
  • วางฎีกาเบิกเงินทุกหมวดรายจ่ายจากกรมบัญชีกลางโดยผ่านระบบ GFMIS ควบคุมเงินงบประมาณยอดเงินที่ขอเบิกและเงินคงคลัง
  • บันทึกทะเบียนคุมรายจ่ายในระบบบัญชี 3 มิติ
  • ดำเนินการ / สรุปยอดเงิน กบข./กสจ. ทั้งสถาบันฯ
  • ออกใบรับรองภาษี ณ ที่จ่ายของข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างทั้งสถาบันฯ
  • จัดทำงบเดือนส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
  • ตรวจสอบเอกสารตั้งเบิกเงินรายได้ทุกประเภทของทุกคณะ / สำนัก
  • คุมทะเบียนการจ่ายเงินรายได้ ทุกคณะ / สำนัก
  • บันทึกทะเบียนคุมรายจ่ายในระบบบัญชี 3 มิติ
  • ตรวจเอกสารสัญญายืมเงินทุกคณะ / สำนัก
  • จัดทำทะเบียนคุมลูกหนี้เงินยืม
  • จัดทำใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
  • นำส่งภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายของบริษัท
  • จัดทำงบเดือนเงินรายได้
  • ลงทะเบียนรับ – ส่งเอกสาร เงินงบประมาณ เงินรายได้ อื่น ๆ
  • รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้เป็นหมวดหมู่
  • ส่งเอกสารงานงบประมาณ งานการเงิน งานบัญชี เข้าระบบ GFMIS
  • บันทึกระบบเวียนแจ้งในระบบสารสนเทศงานสารบรรณ (Lotus Note)
  • พิมพ์เอกสารต่าง ๆ