รางวัลพระราชทาน 2562

นักศึกษา และนักศึกษาพิการ ที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนด สามารถส่งในสมัคร และเอกสารประกอบได้ที่สำนักงานกิจการนักศึกษาฯ ตึกอธิการบดี ก่อนวันที่ 27 ธันวาคม 2562 เพื่อที่จะคัดกรองนำไปเสนอชื่อเพื่อรับรางวัลพระราชทาน รางวัลละ 30,000 บาท

Conditions

  1. สถานภาพทางการศึกษา

“นักศึกษา” หมายถึง นักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอนุปริญญา หรือปริญญาตรีในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือหลักสูตรกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และได้เข้าศึกษาในสถานศึกษาดังกล่าวเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีการศึกษา

“นักศึกษาพิการ” หมายถึง ผู้เรียนซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่างๆ และมีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใดเพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด และจะต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้นักศึกษาต้องศึกษาในระดับอนุปริญญาหรือปริญญาตรีของสถานศึกษาที่ส่งเข้ารับการประเมินเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีการศึกษาและไม่เคยได้รับรางวัลพระราชทานระดับนั้นมาก่อน

  1. ผลการเรียน
  • นักศึกษา ต้องมีระดับผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75 ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
  • นักศึกษาพิการ ต้องมีระดับผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
  1. คุณลักษณะพื้นฐาน นักศึกษาต้องมีคุณลักษณะพื้นฐานที่ดีใน 5 ด้าน ดังนี้

3.1 การศึกษาเล่าเรียน นักศึกษาต้องเป็นผู้มีความรู้ และทักษะพื้นฐานตามระดับการศึกษา มีความสามารถในการคิดและแก้ปัญหา และมีความขยันหมั่นเพียรใฝ่รู้ใฝ่เรียน

3.2 การมีทักษะในการจัดการและการทำงาน นักศึกษาต้องเป็นผู้สามารถตัดสินใจสร้างงานและวางระบบการทำงาน สามารถทำงานเป็นกลุ่มและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และสามารถนำทรัพยากร ข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยี มาใช้ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความมุ่งมั่น พยายาม ในการทำงานแม้อยู่ในภาวะวิกฤต และในสภาพที่เป็นปัญหา

3.3 สุขภาพอนามัย นักศึกษาต้องเป็นผู้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ตามวัยและมีบุคลิกภาพที่ดี (ตามสภาพความพิการ) มีสุขภาพจิตดีและมีสุขนิสัยที่ดี เป็นผู้ห่างไกลและปลอดจากสิ่งเสพติด

3.4 ความประพฤติ คุณธรรมจริยธรรม นักศึกษาต้องเป็นพลเมืองดี มีความซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ มีความกตัญญ เสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักประหยัดอดออมใช้สิ่งของอย่างคุ้มค่า รวมทั้งมีความเป็นประชาธิปไตยมีภาวะผู้นำ มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

3.5 การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม นักศึกษาต้องเป็นผู้ใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามหลักภาษาไทย มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรธรรมชาติพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ให้ยั่งยืน

  1. กิจกรรมและผลงานดีเด่น นักศึกษาต้องมีการปฏิบัติกิจกรรมดีเด่นหรือมีผลงานดีเด่นที่แสดงถึงคุณประโยชน์ต่อส่วนรวม สังคมของตน ท้องถิ่นหรือชุมชนในวงกว้าง เป็นกิจกรรมหรือผลงานที่มีคุณภาพและแสดงออกถึงคุณธรรม ความงามและสร้างสรรค์ ความต่อเนื่องในการทำกิจกรรมและความโดดเด่นของผลงานและความยากของผลงาน (เมื่อเทียบกับข้อจำกัดระดับและประเภทของความพิการรวมทั้งสภาพแวดล้อมบริบทที่นักศึกษาพิการอยู่อาศัย)

รางวัลที่จะได้รับ

  1. นักศึกษาที่ผ่านเกณฑ์ตามหัวข้อ”เกณฑ์การตัดสินรางวัล” จะได้รับพระราชทานเกียรติบัตร เข็มเชิดชูเกียรติ และเงินรางวัลระดับอนุปริญญา รางวัลละ 25,000 บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน) และระดับอุดมศึกษารางวัลละ 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)

2. นักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกให้ผ่านเกณฑ์ตามข้อ 3 ในหัวข้อ “เกณฑ์การตัดสินรางวัล” และอยู่ในลำดับถัดไปอีก 2 คนของทุกขนาดสถานศึกษา รวมทั้งนักศึกษาพิการจะได้รับรางวัลชมเชยจากคณะกรรมการอำนวยการคัดเลือกฯ กระทรวงศึกษาธิการ

3. นักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือก และมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และอยู่ในลำดับถัดจากข้อ 2 จะได้รับเกียรติบัตรชมเชยจากคณะกรรมการดำเนินงานฯ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

4. นักศึกษาพิการที่ได้รับการคัดเลือก และมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และอยู่ในลำดับถัดจากข้อ 2 จะได้รับเกียรติบัตรชมเชยจากคณะกรรมการดำเนินงานฯ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เอกสารการสมัคร

  • ใบประกาศณียบัตร/เกียรติบัตร ในแต่ละด้านที่นักศึกษาได้รับตามคุณลักษณะพื้นฐานที่ดี 5 ด้าน พร้อมเล่มสรุปผลงาน
  • แบบประเมินนักศึกษา
  • Portfolio (แฟ้มสะสมผลงาน)
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาบัตรประจำตัวนักศึกษา
  • Transcript แสดงผลการเรียน
  • Transcript กิจกรรม
  • ประวัติส่วนตัว
  • ภาพประกอบการทำกิจกรรม

เกณฑ์การตัดสินรางวัล

  1. นักศึกษาที่มีสิทธิ์ได้รับการคัดเลือกต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ตามหัวข้อ “คุณสมบัติ”

2. นักศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทานต้องผ่านเกณฑ์ต่อไปนี้

2.1 ได้คะแนนการประเมินคุณลักษณะพื้นฐานเฉลี่ยแต่ละข้อไม่ต่ำกว่า 2.00 และได้คะแนนเฉลี่ยรวมไม่ต่ำกว่า 3.00

2.2 ได้คะแนนกิจกรรม/ผลงานดีเด่นเฉลี่ยแต่ละข้อไม่ต่ำกว่า 2.00 และได้คะแนนเฉลี่ยรวมไม่ต่ำกว่า 3.00

2.3 ได้คะแนนเฉลี่ยรวมของคุณลักษณะพื้นฐานกับคะแนนกิจกรรม/ผลงานดีเด่น ไม่ต่ำกว่า 3.50

2.4 ได้คะแนนเฉลี่ยรวมจากกรรมการทุกคนเรียงลำดับสูงสุดจากกรรมการในแต่ละเขต

กรณีผลการประเมินไม่เป็นไปตามข้อ 2.4 ให้ประธานคณะอนุกรรมการประเมินฯ ระดับเขต เป็นผู้พิจารณาตัดสินแล้วรายงานให้คณะกรรมการในระดับเหนือขึ้นไปพิจารณา

3. นักศึกษาที่มีสิทธิ์รับรางวัลชมเชยจากคณะกรรมการอำนวยการคัดเลือกฯ ต้องผ่านเกณฑ์ต่อไปนี้

3.1 ได้คะแนนการประเมินคุณลักษณะพื้นฐานเฉลี่ยแต่ละข้อไม่ต่ำกว่า 2.00 และได้คะแนนเฉลี่ยรวมไม่ต่ำกว่า 3.00

3.2 ได้คะแนนกิจกรรม/ผลงานดีเด่นเฉลี่ยแต่ละข้อไม่ต่ำกว่า 2.00 และได้คะแนนเฉลี่ยรวมไม่ต่ำกว่า 3.00

4. สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มอบเกียรติบัตรชมเชยให้กับนักศึกษาและนักศึกษาพิการทุกคนที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน

5. สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มอบเกียรติบัตรการเข้าร่วมโครงการให้กับนักศึกษาที่เข้ารับการประเมิน แต่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน

จำนวนรางวัลและการแบ่งกลุ่ม

  1. รางวัล มีรายละเอียดดังนี้

1.1 รางวัลนักศึกษาระดับอุดมศึกษา มี 26 รางวัล ให้แก่นักศึกษาที่ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมโดยแบ่งเป็น 4 ภูมิภาคๆ ละ 5 รางวัลและกรุงเทพมหานคร 6 รางวัลจำแนกตามขนาดสถานศึกษาที่นักศึกษากำลังศึกษาอยู่ ประกอบด้วยสถานศึกษาขนาดเล็ก 1 รางวัล สถานศึกษาขนาดกลางและสถานศึกษาขนาดใหญ่ 2 รางวัล ยกเว้นกรุงเทพมหานคร สถานศึกษาขนาดเล็ก 1 รางวัลสถานศึกษาขนาดกลาง 2 รางวัล และสถานศึกษาขนาดใหญ่ 3 รางวัล โดยแบ่งขนาดสถานศึกษาตามจำนวนนักศึกษา ระดับอนุปริญญาและปริญญาตรีของมหาวิทยาลัย/สถาบัน/วิทยาลัย ดังนี้

สถานศึกษาใน 4 ภูมิภาค

ก. สถานศึกษาขนาดเล็ก มีจำนวนนักศึกษาไม่เกิน 3,000 คน

ข. สถานศึกษาขนาดกลาง มีจำนวนนักศึกษาตั้งแต่ 3,001 ถึง 12,000 คน

ค. สถานศึกษาขนาดใหญ่ มีจำนวนนักศึกษาตั้งแต่ 12,001 คนขึ้นไป

กรุงเทพมหานคร

ก. สถานศึกษาขนาดเล็ก มีจำนวนนักศึกษาไม่เกิน 5,000 คน

ข. สถานศึกษาขนาดกลาง มีจำนวนนักศึกษาตั้งแต่ 5,001 ถึง 15,000 คน

ค. สถานศึกษาขนาดใหญ่ มีจำนวนนักศึกษาตั้งแต่ 15,001 คนขึ้นไป

1.2 รางวัลนักศึกษาพิการระดับอุดมศึกษา มี 5 รางวัล ให้แก่นักศึกษาพิการที่ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยประเมินในภาพรวมระดับประเทศ

2. การแบ่งเขตสถานศึกษา กำหนดให้แบ่งตามเขตภูมิภาคออกเป็น 5 เขต ตามบัญชีรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาที่แนบท้ายประกาศ ดังนี้

2.1 เขตภาคเหนือ

2.2 เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

2.3 เขตภาคกลาง

2.4 เขตภาคใต้

2.5 เขตกรุงเทพมหานคร

ขั้นตอนการคัดเลือกผู้รับรางวัล

  1. ประชาสัมพันธ์เผยแพร่การรับสมัครนักศึกษานักศึกษาพิการเพื่อเข้ารับรางวัลพระราชทานระดับอุดมศึกษาไปยังคณะ/หน่วยงานต่างๆ เป็นประจำทุกปีการศึกษา
  2. เตรียมความพร้อมในการคัดเลือกนักศึกษานักศึกษาพิการที่มีคุณลักษณะพื้นฐาน 5 ประการ มีกิจกรรม/ผลงานดีเด่น เนื่องจากจะมีการคัดเลือกนักศึกษาเพื่อเข้ารับรางวัลพระราชทานระดับอุดมศึกษาเป็นประจำทุกปีการศึกษา
  3. แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินและคัดเลือกนักศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทานระดับอุดมศึกษา ระดับสถาบันโดยให้มีองค์ประกอบคณะกรรมการอย่างน้อย 3 คน
  4. คณะกรรมการประเมินฯ ที่ได้รับการแต่งตั้งจะต้องดำเนินการประเมินและคัดเลือกนักศึกษาที่มีคุณสมบัติตามที่ สกอ. กำหนด
  5. ส่งเอกสารข้อมูลต่างๆของนักศึกษาที่ได้รับการเสนอชื่อ โดยจะต้องส่งต้นฉบับและไฟล์เอกสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ให้ทันตามกำหนดเวลา ทั้งนี้จะต้องตรวจสอบแบบฟอร์มและเอกสารที่ต้องนำส่งเข้าระบบคอมพิวเตอร์ให้สมบูรณ์ครบถ้วน (ข้อมูลเอกสารจะต้องตรงกับต้นฉบับที่นำส่งให้กับประธานอนุกรรมการประเมินฯ ระดับเขต)
  6. จัดส่งเอกสารต้นฉบับและแบบฟอร์มต่างๆ ให้ประธานอนุกรรมการฯ ระดับเขต ภายในเวลาที่กำหนด (ไม่ต้องส่งเอกสารให้ สกอ.) โดยจัดส่งเอกสารดังต่อไปนี้

6.1 แบบเสนอชื่อนักศึกษา นักศึกษาพิการ (อธิการบดี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองเท่านั้น)

6.2 แบบรายงานตนเองของนักศึกษา นักศึกษาพิการ (แบบรายงาน ก) ที่นักศึกษา นักศึกษาพิการ เป็นผู้จัดทำรายงานด้วยตนเองเท่านั้น โดยให้สามารถพิมพ์ได้ พร้อมทั้งลงนามรับรอง (แบบรายงาน ก)

6.3 แบบบันทึกข้อมูลคุณลักษณะพื้นฐาน (แบบรายงาน ข)

6.4 แบบประเมินคุณลักษณะพื้นฐานฯ (พร. 1 ก)

6.5 แบบสรุปการประเมินนักศึกษาฯ (พร. 2 ก)

  1. ให้คำแนะนำเป็นที่ปรึกษาและเตรียมความพร้อมในการแนะนำตนเอง และเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาในการนำเสนอผลงานเพื่อเข้ารับรางวัลพระราชทาน รวมทั้งให้ความร่วมมือในการอำนวยความสะดวกให้นักศึกษาเดินทางไปเข้ารับการประเมินฯ ณ สถาบันอุดมศึกษาที่เป็นเจ้าภาพ
  2. จัดนิทรรศการหรือนำเอกสารและผลงานที่โดดเด่นของนักศึกษามาแสดงในวันที่เข้ารับการประเมินฯ ณ สถาบันอุดมศึกษาที่เป็นเจ้าภาพ (ตามความสะดวกและเหมาะสม)
en_USEN
thTH en_USEN