นักศึกษาชาย ที่มีอายุ 20 ย่าง 21 ปี(นับปี พ.ศ. ปัจจุบัน ลบ ปีพ.ศ. เกิด) และกำลังศึกษาอยู่ ไม่ได้เรียนวิชาทหาร (รด.) ต้องมาดำเนินการยื่นเอกสารขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร หากนักศึกษาไม่มาดำเนินการยื่นเอกสารขอผ่อนผัน หรือมาดำเนินการยื่นเอกสารไม่ทันที่สถาบันกำหนด หากถูกคัดเลือกเข้ากองประจำการ จะไม่สามารถผ่อนผันเพื่อลาศึกษาต่อได้ ต้องเข้ารับราชการทหารทันที หากนักศึกษามีข้อสงสัย สอบถามได้ที่
สำนักงานกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ชั้น 4 อาคารสำนักงานอธิการบดี โทร.02 329 8142 ว่าที่ร้อยตรี อภิชัย แส้ทอง โทร.084-139-6929 หรือพี่ตุน Line id : tun669
ส่งด้วยตนเองได้ที่
สำนักงานกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ชั้น 4 สำนักงานอธิการบดี
ส่งทางไปรษณีย์ได้ที่
ว่าที่ร้อยตรี อภิชัย แส้ทอง (เอกสารขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร)
King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang
สำนักงานกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ชั้น 4 สำนักงานอธิการบดี
1 ถนนฉลองกรุง แขวงลาดกระบัง เขต ลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
(มุมซองด้านล่างขวาเขียน “รหัสนักศึกษา”)
2.สำเนา สด.9 (หน้า-หลัง) จำนวน 2 ฉบับ
3.สำเนา สด.35 (หมายเรียก) จำนวน 2 ฉบับ ติดต่อขอรับได้ที่สัสดีอำเภอ/สัสดีเขต ตามภูมิลำเนาทหาร
4.สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 2 ฉบับ
5.สำเนาบัตรนักศึกษา จำนวน 2 ฉบับ
6.สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 2 ฉบับ
7.หนังสือรับรองสถานภาพการเป็นนักศึกษา ฉบับจริง 1 ฉบับ และสำเนาอีก 1 ฉบับ ขั้นตอนการขอรับเอกสารออนไลน์ มีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ 50 บาท (ผ่านการโอน)
* Sign the name and make a certified true copy in every photocopied document (Use a blue pen only).
** Make a request at the office of the registrar, 2nd floor, President building. Please inform that the request used for the military service postponement (Fees, 50 Baht). ยื่นคำร้องได้ตั้งแต่วันนี้! จนถึง 31 มกราคม 2567
1.ประมาณกลางเดือนมีนาคม ของทุกปี ให้ผู้ขอผ่อนผันฯตรวจสอบรายผ่อนผันที่สัสดีเขต/อำเภอ ของตน ว่ามีรายชื่อตัวเองผ่อนผันหรือไม่
1.1 ถ้ามีชื่อตัวเองผ่อนผัน ให้รอไปรายงานตัวในวันตรวจเลือก(ตามสด.35)
1.2 ถ้าไม่มีชื่อตัวเองผ่อนผัน ให้โหลดเอกสารผ่อนผัน Here. เพื่อยื่นให้เจ้าหน้าที่ดูในวันตรวจเลือก
2.การยื่นเอกสารขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร ยื่นเอกสารครั้งแรกครั้งเดียวเท่านั้นหากนักศึกษายังไม่สำเร็จการศึกษาให้ปฏิบัติตามข้อ1.
(ไม่ต้องยื่นเอกสารคำร้องอีก)
3.หากเปลี่ยนสถานศึกษา/คณะ/เปลี่ยนหลักสูตรจากปริญญาตรีเป็นปริญญาโท ต้องยื่นเอกสารคำร้องขอผ่อนผันเกณฑ์ทหารใหม่
4.ในวันที่นักศึกษาไปแสดงตัวในวันตรวจเลือก เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จเจ้าหน้าที่จะออกหมายเรียก(สด.35)ปีถัดไปให้นักศึกษาเก็บไว้
5.หากนักศึกษาไม่ไปแสดงตัวในวันตรวจเลือก ถือมีความผิด ต้องระวางโทษปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ
6.สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ งานวิชาทหาร ว่าที่ร.ต.อภิชัย แส้ทอง โทรศัพท์ 02-3298000
ต่อ 3243 สายตรง 02-3298142 มือถือ 084-139-6929
- เป็นชายสัญชาติไทย
- มีอายุครบ 17 ปี (ในปีที่แจ้งขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน)
- บุคคลซึ่งยังไม่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามระยะเวลาที่กำหนด และอายุยังไม่ถึง 46 ปี ยังคงต้องลงบัญชีทหารกองเกิน
- ใบสูติบัตร(ใบเกิด) หรือ บัตรประจำตัวประชาชน ของผู้แจ้งขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน
- ทะเบียนบ้านฉบับจริงที่มีชื่อของผู้แจ้ง
- ทะเบียนบ้านฉบับจริงที่มีชื่อของ บิดา มารดา ของผู้แจ้ง
- ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบิดา มารดา เป็นบุคคลต่างด้าว)
- หลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล หรือใบมรณบัตร (กรณีบิดามารดาเสียชีวิต)
- ผู้แจ้งรายงานตัวเพื่อแจ้งขอขึ้นทะเบียนทหารกองเกินต่อนายอำเภอในท้องที่พร้อมเอกสารหลักฐาน
- เมื่อแจ้งขอขึ้นทะเบียนทหารกองเกินต่อนายอำเภอในท้องที่แล้ว นายอำเภอท้องที่จะทำการตรวจสอบหลักฐานเอกสาร เมื่อเห็นว่าถูกต้องจะลงบัญชีทหารกองเกินและออกใบสำคัญทหารกองเกินแบบ สด.9 ให้เป็นหลักฐาน
กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย
-
- ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนาอยู่ (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าบิดาเสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าทั้งบิดาและมารดาเสียชีวิต แต่มีผู้ปกครอง ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่ผู้ปกครองมีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าบิดามารดา หรือผู้ปกครอง เสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่เขตหรืออำเภอท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านก็ให้ลงบัญชีที่อำเภอท้องที่อยู่ในปัจจุบัน
กรณีบิดาและมารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย
-
- กรณีที่บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร ให้ลงบัญชี อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าบิดา มารดามิได้จดทะเบียนสมรส และบิดามิได้จดทะเบียนรับรองบุตร ให้ลงบัญชี อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้ามารดาเสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่ผู้ปกครองมีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าไม่เข้ากรณีดังกล่าวเลย ให้ลงบัญชีที่เขตหรืออำเภอท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนา (มีชื่อตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านให้ลงบัญชีที่อำเภอท้องที่อยู่ในปัจจุบัน
กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่าในภายหลัง
-
- ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนาอยู่ (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าบิดาเสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ในกรณีที่บิดา มารดาได้จดทะเบียนหย่าในภายหลัง ให้ดูหลักฐานในบันทึกการหย่าว่าบุตรอยู่ในความปกครองของใคร ก็ให้ไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกินที่อำเภอ / เขตที่บิดาหรือมารดา มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
- หากมาขอลงบัญชีทหารกองเกินก่อนที่เจ้าหน้าที่จะทำการฟ้องร้องและจับกุม บทลงโทษจะลดลงเหลือเพียงจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยส่งให้พนักงานสอบสวน คือ ตำรวจเป็นผู้ปรับเงิน
- หากทางอำเภอหรือเจ้าหน้าที่แจ้งความดำเนินคดี จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 300 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- หากหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่เข้ารับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร หรือทดลองความพรั่งพร้อม หรือในการระดมพล ต้องมีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 4 ปี