นักศึกษาชาย ที่มีอายุ 20 ย่าง 21 ปี(นับปี พ.ศ. ปัจจุบัน ลบ ปีพ.ศ. เกิด) และกำลังศึกษาอยู่ ไม่ได้เรียนวิชาทหาร (รด.) ต้องมาดำเนินการยื่นเอกสารขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร หากนักศึกษาไม่มาดำเนินการยื่นเอกสารขอผ่อนผัน หรือมาดำเนินการยื่นเอกสารไม่ทันที่สถาบันกำหนด หากถูกคัดเลือกเข้ากองประจำการ จะไม่สามารถผ่อนผันเพื่อลาศึกษาต่อได้ ต้องเข้ารับราชการทหารทันที หากนักศึกษามีข้อสงสัย สอบถามได้ที่
สำนักงานกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ชั้น 4 อาคารสำนักงานอธิการบดี โทร.02 329 8142 ว่าที่ร้อยตรี อภิชัย แส้ทอง โทร.084-139-6929 หรือพี่ตุน Line id : tun669
ส่งด้วยตนเองได้ที่
สำนักงานกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ชั้น 4 สำนักงานอธิการบดี
ส่งทางไปรษณีย์ได้ที่
ว่าที่ร้อยตรี อภิชัย แส้ทอง (เอกสารขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร)
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สำนักงานกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ชั้น 4 สำนักงานอธิการบดี
1 ถนนฉลองกรุง แขวงลาดกระบัง เขต ลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
(มุมซองด้านล่างขวาเขียน “รหัสนักศึกษา”)
2.สำเนา สด.9 (หน้า-หลัง) จำนวน 2 ฉบับ
3.สำเนา สด.35 (หมายเรียก) จำนวน 2 ฉบับ ติดต่อขอรับได้ที่สัสดีอำเภอ/สัสดีเขต ตามภูมิลำเนาทหาร
4.สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 2 ฉบับ
5.สำเนาบัตรนักศึกษา จำนวน 2 ฉบับ
6.สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 2 ฉบับ
7.หนังสือรับรองสถานภาพการเป็นนักศึกษา ฉบับจริง 1 ฉบับ และสำเนาอีก 1 ฉบับ ขั้นตอนการขอรับเอกสารออนไลน์ มีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ 50 บาท (ผ่านการโอน)
หมายเหตุ (ยื่นเอกสารขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารได้ที่ สำนักงานกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์)
ชั้น 4 อาคารสำนักงานอธิการบดี ยื่นคำร้องได้ตั้งแต่วันนี้! จนถึง 31 มกราคม 2567
1.ประมาณกลางเดือนมีนาคม ของทุกปี ให้ผู้ขอผ่อนผันฯตรวจสอบรายผ่อนผันที่สัสดีเขต/อำเภอ ของตน ว่ามีรายชื่อตัวเองผ่อนผันหรือไม่
1.1 ถ้ามีชื่อตัวเองผ่อนผัน ให้รอไปรายงานตัวในวันตรวจเลือก(ตามสด.35)
1.2 ถ้าไม่มีชื่อตัวเองผ่อนผัน ให้โหลดเอกสารผ่อนผัน ที่นี่ เพื่อยื่นให้เจ้าหน้าที่ดูในวันตรวจเลือก
2.การยื่นเอกสารขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร ยื่นเอกสารครั้งแรกครั้งเดียวเท่านั้นหากนักศึกษายังไม่สำเร็จการศึกษาให้ปฏิบัติตามข้อ1.
(ไม่ต้องยื่นเอกสารคำร้องอีก)
3.หากเปลี่ยนสถานศึกษา/คณะ/เปลี่ยนหลักสูตรจากปริญญาตรีเป็นปริญญาโท ต้องยื่นเอกสารคำร้องขอผ่อนผันเกณฑ์ทหารใหม่
4.ในวันที่นักศึกษาไปแสดงตัวในวันตรวจเลือก เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จเจ้าหน้าที่จะออกหมายเรียก(สด.35)ปีถัดไปให้นักศึกษาเก็บไว้
5.หากนักศึกษาไม่ไปแสดงตัวในวันตรวจเลือก ถือมีความผิด ต้องระวางโทษปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ
6.สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ งานวิชาทหาร ว่าที่ร.ต.อภิชัย แส้ทอง โทรศัพท์ 02-3298000
ต่อ 3243 สายตรง 02-3298142 มือถือ 084-139-6929
- เป็นชายสัญชาติไทย
- มีอายุครบ 17 ปี (ในปีที่แจ้งขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน)
- บุคคลซึ่งยังไม่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามระยะเวลาที่กำหนด และอายุยังไม่ถึง 46 ปี ยังคงต้องลงบัญชีทหารกองเกิน
- ใบสูติบัตร(ใบเกิด) หรือ บัตรประจำตัวประชาชน ของผู้แจ้งขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน
- ทะเบียนบ้านฉบับจริงที่มีชื่อของผู้แจ้ง
- ทะเบียนบ้านฉบับจริงที่มีชื่อของ บิดา มารดา ของผู้แจ้ง
- ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบิดา มารดา เป็นบุคคลต่างด้าว)
- หลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล หรือใบมรณบัตร (กรณีบิดามารดาเสียชีวิต)
- ผู้แจ้งรายงานตัวเพื่อแจ้งขอขึ้นทะเบียนทหารกองเกินต่อนายอำเภอในท้องที่พร้อมเอกสารหลักฐาน
- เมื่อแจ้งขอขึ้นทะเบียนทหารกองเกินต่อนายอำเภอในท้องที่แล้ว นายอำเภอท้องที่จะทำการตรวจสอบหลักฐานเอกสาร เมื่อเห็นว่าถูกต้องจะลงบัญชีทหารกองเกินและออกใบสำคัญทหารกองเกินแบบ สด.9 ให้เป็นหลักฐาน
กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย
-
- ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนาอยู่ (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าบิดาเสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าทั้งบิดาและมารดาเสียชีวิต แต่มีผู้ปกครอง ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่ผู้ปกครองมีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าบิดามารดา หรือผู้ปกครอง เสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่เขตหรืออำเภอท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านก็ให้ลงบัญชีที่อำเภอท้องที่อยู่ในปัจจุบัน
กรณีบิดาและมารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย
-
- กรณีที่บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร ให้ลงบัญชี อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าบิดา มารดามิได้จดทะเบียนสมรส และบิดามิได้จดทะเบียนรับรองบุตร ให้ลงบัญชี อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้ามารดาเสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่ผู้ปกครองมีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าไม่เข้ากรณีดังกล่าวเลย ให้ลงบัญชีที่เขตหรืออำเภอท้องที่ที่ตนมีภูมิลำเนา (มีชื่อตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านให้ลงบัญชีที่อำเภอท้องที่อยู่ในปัจจุบัน
กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่าในภายหลัง
-
- ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนาอยู่ (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ถ้าบิดาเสียชีวิต ให้ลงบัญชีที่อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา (มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ในกรณีที่บิดา มารดาได้จดทะเบียนหย่าในภายหลัง ให้ดูหลักฐานในบันทึกการหย่าว่าบุตรอยู่ในความปกครองของใคร ก็ให้ไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกินที่อำเภอ / เขตที่บิดาหรือมารดา มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
- หากมาขอลงบัญชีทหารกองเกินก่อนที่เจ้าหน้าที่จะทำการฟ้องร้องและจับกุม บทลงโทษจะลดลงเหลือเพียงจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยส่งให้พนักงานสอบสวน คือ ตำรวจเป็นผู้ปรับเงิน
- หากทางอำเภอหรือเจ้าหน้าที่แจ้งความดำเนินคดี จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 300 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- หากหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่เข้ารับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร หรือทดลองความพรั่งพร้อม หรือในการระดมพล ต้องมีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 4 ปี